นิทาน

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

ปริศนาคำทาย

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

นิทาน

นิทานเรื่อง “ลูกหมี”
ผู้แต่ง อารี สำรองพันธ์
ภาพ ประรินดา พกแพง



ลูกหมี ลูกหมู ลูกหมา ลูกเป็ด และ ลูกไก่
เป็นเพื่อน นักเรียน เรียน อยู่ ชั้น เดียวกัน
ลูกหมี เป็น นักเรียน ตัว โต ที่ สุด ใน ชั้น เรียน
ลูกหมี มี กำลัง แข็งแรง กว่า เพื่อน ๆ
ลูกหมี เป็น คน รัก เพื่อน และ ไม่ชอบ อยู่ คน เดียว
แม้ว่า ลูกหมี จะ ถูก เพื่อน ล้อเลียน เย้าแหย่ ลูกหมี ก็ ไม่ โกรธ
และ ไม่ ทำร้าย ใคร เพราะ กลัว เพื่อน บาดเจ็บ และ ไม่ รัก
เวลา เล่น กัน ลูกหมี รู้ ว่า เพื่อน ตัว เล็กกว่า และ อ่อนแอ
จึง ไม่ เล่น กับ เพื่อน แรง ๆ เพราะ กลัว เพื่อน ๆ บาดเจ็บ หรือ พิการ
ลูกหมี ไม่ เพิกเฉย เวลา เห็น เพื่อน ๆ ยก ของ หนัก ๆ
แต่ จะ รีบ ช่วย เพื่อน ๆ ทำ ให้ ลูกหมี มี เพื่อน มาก
เพื่อน ๆ ต่าง ก็ รัก ลูกหมี เพราะ ลูกหมี ใจดี และ ไม่ ทำร้าย ใคร
ลูกหมี ไม่ เล่น กับ เพื่อน แรงๆ ลูกหมี มี น้ำใจ ช่วยเหลือ เพื่อ น และ ครู
เพื่อน ๆ จะ แบ่งปัน อาหาร หรือ ขนม ให้ ลูกหมี เสมอ
วันหนึ่ง ลูกหมี ล้มป่วย เป็น ไข้ ไม่ มา โรงเรียน เมื่อ เพื่อน ๆ รู้
ด้วย ความรัก และ ความ ห่วงใย จึง เดิน ทาง ไป เยี่ยมเยียน
และ อวยพร ขอ ให้ ลูกหมี หาย เร็ว ๆ
ลูกหมี กิน ยา ตาม ที่ หมอ สั่ง และ พัก ผ่อน ตาม ที่ หมอ เตือน
เพียง สาม วัน ลูกหมี ก็ หาย ป่วย
ลูกหมี ไป โรงเรียน ได้ แล้ว เพื่อน ต่าง โห่ ร้อง ดี ใจ
ต้อนรับ เพื่อน ที่ แสนดี

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553









กิจกรรมเล่านิทานพร้อมภาพประกอบ ที่โรงเรียนสาธิตอนุบาลจันทรเกษมวันที่ 28 มกราคม 2553


บรรยายกาศในห้องเรียน

ในตอนแรกยังไม่มีเด็กมามากนัก มีแต่น้อง สองคน เป็นผู้หญิง กับ ผู้ชาย

พอสักพักก็เริ่มมากันแต่เด็ฏยังไม่ค่อยสนใจ ก็เลยดึงดูดความสนใจโดยการใช่ สมุดวาดเส้นก่อน

จากนั้นเด็กเริ่มสนใจกันมาก จากนั้นก็เริ่อเล่านิทาน

วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553













อาจารย์ ให้ส่ง Mind Mappig ของสัปดาห์ที่แล้ว

อาจารยืให้ลองทำ Mind Mapping ใน Programs Computer

แล้วให้ ลิ้งค์ เข้าไปใน Blogger ของตัวเอง

เช่น ถ้าทำเรื่องคน

-ลักษณะของบุคคลนั้น

-รูปร่าง

-นิสัย


-ภาพลักษณ์


และอาจารย์ ให้เพิ่มเต็ม ลงใน Blog

-แนวการสอน

-คณะศึกษาศาสตร์
ลักษณะทางกายภาพและชีวภาคของปู
ลักษณะทั่วไปปูเป็นสัตว์น้ำชนิดหนึ่งที่มีกระดองเป็นเปลือกแข็งหุ้มลำตัว ตามหลักชีววิทยาจัดเป็นสัตว์น้ำจำพวกที่มี 10 ขา นอกจากปูแล้วก็ยังมีกุ้งก้ามกราม จั๊กจั่นทะเล และแมงดาทะเล ปูจัดอยู่ในอันดับ "เดคคาโปดา" (Decapoda) ปูทั่วโลกมีมากกว่า 1,000 ชนิด ขนาดแตกต่างกัน ปูขนาดเล็กมีมักพบเห็นกันบ่อย ๆ คือปูถั่ว ซึ่งอาศัยอยู่ในเปลือกหอยนางรมลอย ปูถั่วจะมีกระดองกว้างไม่เกิน 2.5 ซ.ม. ปูขนาดใหญ่ คือ ปูแมงมุมของญี่ปุ่นซึ่งมีกระดองกว้างประมาณ 30 ซ.ม. ปูชนิดนี้ถ้าเหยียดขาออกแล้ว ปลายสุดของขาทั้งด้านซ้ายและขวามีความยาวถึง 3.60 เมตร ปูเกือบทุกชนิดอาศัยอยู่ในทะเล มีเพียงไม่กี่ชนิดที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด ปูบางชนิดได้พัฒนาตัวเองขึ้นมาอาศัยอยู่บนบก แต่แม่ปูทุกชนิดต้องไปวางไข่ในน้ำ หรือใกล้น้ำ เพราะลูกปูต้องเจริญเติบโตในน้ำ ลักษณะทั่วไป ปูมีขาเป็นคู่รวม 5 คู่ คู่แรกเรียกกันว่า "ก้าม" หรือ "ก้ามปู" หรือ "ก้ามหนีบ" ขาคู่ที่สองถึงคู่ที่ห้า เรียกว่า "ขาเดิน" หรือ "ขาว่ายน้ำ" ขาแต่ละข้างมีรอยแยกหรือข้อต่อติดต่อกันเป็นส่วน ๆ แต่ละส่วนเรียกว่า "ปล้อง" ขาแต่ละข้างจะประกอบด้วยปล้อง ต่อกันรวม 7 ปล้อง ปล้องที่ 1 อยู่ติดกับลำตัว ข้อต่อของขาปล้องที่ 2 และที่ 3 จะติดต่อกันเหนียวแน่นไม่สามารถพับงอ ขยับเขยื้อนได้ เป็นเหตุให้ปูขยับขาเคลื่อนไหวเดินได้ไม่ตรงทิศทาง ปูมีขาเดิน 4 คู่ โดยปกติขาเดินทั้งซ้ายและขวาจะมีลักษณะเหมือนกัน ในบางครั้งจะพบว่าปูบางชนิดจะมีขาเดินอยู่เพียง 3 คู่ แท้จริงขาเดินคู่ที่ 4 มีขนาดเล็กและสั้นพับแนบติดกับกระดองด้านข้าง ลักษณะของปลายขาเดินคู่ที่ 4 ของปูบางจำพวก จะมีสัณฐานแยบคล้ายใบพายเพื่อใช้ทำหน้าที่ในการว่ายน้ำ เช่น พวกปูม้า และปูทะเล ปูมีจับปิ้งหรืออาจเรียกเป็นชื่ออื่น เช่น จะปิ้ง ตะปิ้ง หรือตับปิ้ง ลักษณะคล้ายแผ่นกระเบื้องเรียงต่อกันอยู่ 7 แผ่น จับปิ้งของปูเพศเมียมีขนาดกลมกว้างใหญ่เกือบเต็มส่วนอก จับปิ้งของปูนับเป็นอวัยวะ "ส่วนท้อง" สัตว์น้ำประเภทนี้ ปลายจับปิ้งหรือปล้องท้องแผ่นที่ 7 เป็น "รูก้น" ของปูเพื่อใช้ในการขับถ่าย เลือดของปูมีสีฟ้า มีส่วนประกอบของสารทองแดงปนอยู่ด้วยมาก เมื่อปูมีบาดแผลเลือดซึ่งมีลักษณะเป็นน้ำใส ๆ นี้จะไหลซึมออกมา เลือดของปูเมื่อถูกความร้อนจะตกตะกอนเป็นสีขาวขุ่นเหมือนไข่ขาวที่ต้มสุกแล้ว อวัยวะภายใน หัวใจ กระเพาะอาหาร ระบบประสาทและระบบสืบพันธุ์ภายในร่างกายของปูทุกชนิด จะมีกระดองปกคลุมอยู่ ปูฟอกเลือดโดยการรับออกซิเจนที่มีอยู่ในน้ำผ่านเข้าทางบริเวณเหงือก ซึ่งตั้งอยู่บริเวณหน้าก้ามหนีบ อวัยวะที่ใช้สำหรับระบายทางน้ำออก ส่วนมากอยู่บริเวณข้าง ๆ รยางค์ปาก เหงือกของปู คือส่วนที่เราเรียกว่า "นมปู" ปูสองกระดอง คือ ปูซึ่งอยู่ในสภาพพร้อมจะลอกคราบ ลอกกระดองอันเก่าทิ้งขอบหลังของเปลือกกระดองอันใหม่จะเผยออกมาให้เห็นได้ชัด กระดองใหม่ซึ่งถูกสร้างขึ้นในระยะแรก จะมีลักษณะเป็นเนื้อเยื่อบาง ๆ ปูสองกระดองนี้จัดเป็นปูที่นับได้ว่ามีสภาพเจริญสมบูรณ์เต็มที่มีเนื้อแน่นนิยมนำมาปรุงเป็นอาหารพอ ๆ กับไข่ปู ในประเทศสหรัฐอเมริกานิยมน้ำปูกระดองนิ่มหรือปูลอกคราบใหม่ ๆ มาปรุงเป็นอาหาร เพราะสามารถรับประทานได้ทั้งตัว ไม่ต้องเกรงว่าจะเคี้ยวถูกเปลือกหรือหนามแหลมทิ่มตำปูสองกระดองชนิดที่เป็นที่นิยมของนักบริโภค ได้แก่ ปูม้า ปูทะเล ส่วนปูแสม ปูจาก นิยมนำมาคลุกเกลือหมักดองเป็นปูเค็ม เนื้อปูซึ่งนักโภชนาการนำมาปรุงเป็นอาหาร ต้องเป็นปูสดหรือขณะจับมาได้ใหม่ ๆ เพราะปูที่จับมากักขังไว้นาน ๆ หรือตายแล้ว เรียกว่า "ปูโพรก" เพราะมีเนื้อน้อย เนื้อไม่แน่น น้ำหนักตัวเบา รับประทานไม่อร่อย ปูเกือบทุกชนิดกินเนื้อสตว์ที่เน่าเปื่อยและสัตว์ที่มีชีวิตที่เล็กกว่า เช่น กุ้ง ไส้เดือน หนอนทะเล และพวกปูพวกเดียวกันเอง มีปูบางชนิดกินพวกสาหร่ายสีเขียว เช่น ปูก้ามดาบ